ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
การกำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา ได้พิจารณาบนพื้นฐานของความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของหลักสูตร กับ กลุ่มผลลัพธ์การเรียนรู้ 11 ผลลัพธ์ โดยอ้างอิงจากสภาวิศวกร โดยมีรายละเอียดของแต่ละผลลัพธ์ ดังต่อไปนี้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 1 การประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม
สามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม และความรู้เฉพาะทางวิศวกรรมเพื่อกำหนดกรอบความคิดของแบบจำลองทางวิศวกรรม หรือนิยามและประยุกต์วิธีการ กระบวนงาน กระบวนการ หรือระบบงานทางวิศวกรรมในการทำงานได้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหาทางวิศกรรม
สามารถระบุปัญหา ตั้งสมการความสัมพันธ์ สืบค้นทางเอกสาร และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน จนได้ข้อสรุปเบื้องต้นโดยใช้หลักการและเครื่องมือวิเคราะห์ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 3 การออกแบบและพัฒนาเพื่อหาคำตอบของปัญหา
สามารถหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน และออกแบบระบบงานหรือกระบวนการทางวิศวกรรมตามความต้องการและข้อกำหนดงานโดยคำนึงถึงข้อกำหนดด้านสังคม ความปลอดภัย การอนามัยและสิ่งแวดล้อม หรือมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 4 การพิจารณาตรวจสอบ
สามารถตรวจสอบ วินิจฉัย ประเมินผลงานและปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน ซึ่งครอบคลุมถึงการตั้งสมมติฐานการออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์ การแปลความหมายข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 5 การใช้อุปกรณ์เครื่องมือทันสมัย
สามารถสร้าง เลือก และประบุกต์ใช้เทคนิควิธี ทรัพยากร อุปกรณ์เครื่องมือทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและทันสมัย โดยคำนึงถึงข้อกำหนดและข้อจำกัดของเครื่องมือและอุปกรณ์นั้น
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 6 การทำงานร่วมกันเป็นทีม
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายในสหสาขาวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานในฐานะสมาชิกของกลุ่มและผู้นำกลุ่มได้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 7 การติดต่อสื่อสาร
สามารถติดต่อสื่อสารในงานวิศวกรรมวิชาชีพอื่น และบุคคลทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิผลด้วยวาจา ด้วยการเขียนรายงาน การเสนอผลงาน การเขียนและอ่านแบบทางวิศวกรรม ตลอดจนสามารถออกคำสั่งและรับคำสั่งงานได้อย่างชัดเจน
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 8 กิจกรรมสังคม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน และวิชาชีพวิศวกรรม
มีความเข้าใจและความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมต่อบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อม และสามารถประเมินผลกระทบของการแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อนต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 9 จรรยาบรรณวิชาชีพ
มีความเข้าใจและยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และยึดถือตามกรอบมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 10 การบริหารงานวิศวกรรมและการลงทุน
มีความรู้และความเข้าใจในด้านเศรษฐศาสตร์ การลงทุนและการบริหารงานวิศวกรรมโดยคำนึงถึง
ความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 11 การเรียนรู้ตลอดชีพ
ตระหนักถึงความจำเป็น และมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดชีพ
ความเชื่อมโยงระหว่างวัตถุประสงค์หลักสูตรแต่ละข้อกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรทั้ง 11 ผลลัพธ์ มีการเชื่อมโยงกัน ดังแสดงในตารางที่ 1 ซึ่งแสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร โดยผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรทุกข้อมีความเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ