แนะนำ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนยันตรศึกษาขึ้นในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2456 ซึ่งถือเป็นการกำเนิดคณะวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาวิศวกรรมโยธาถือเป็นหน่วยหนึ่งของโรงเรียนนี้เรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ. 2459 ได้มีการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น และโรงเรียนยันตรศึกษาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทำเนียบหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา

  1. ศาสตราจารย์ พระเจริญวิศวกรรม (พ.ศ. 2474-2504)
  2. ศาสตราจารย์ ดร.ชัย มุกตพันธุ์ (พ.ศ. 2504-2518)
  3. ศาสตราจารย์ ดร.นิวัตต์ ดารานันทน์ (พ.ศ. 2518-2522)
  4. ศาสตราจารย์ สนั่น เจริญเผ่า (พ.ศ. 2522-2526)
  5. ศาสตราจารย์ จักรี จัตุฑะศรี (พ.ศ. 2526-2530)
  6. ศาสตราจารย์ วรุณ คุณวาสี (พ.ศ. 2530-2532)
  7. ศาสตราจารย์ ดร.วินิต ช่อวิเชียร (พ.ศ. 2532-2534)
  8. รองศาสตราจารย์ ดร.การุญ จันทรางศุ (พ.ศ. 2534-2535)
  9. รองศาสตราจารย์ เสถียร ชลาชีวะ (พ.ศ. 2535-2537)
  10. ศาสตราจารย์ วัฒนา ธรรมมงคล (พ.ศ. 2537 – 31 มี.ค. 2539)
  11. รองศาสตราจารย์ อนุกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (1 เม.ย. 2539 – 3 มี.ค. 2541)
  12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพล จิวาลักษณ์ (30 มี.ค. 2541 – 16 ส.ค. 2542)
  13. ศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ (26 พ.ย. 2542 – 15 ก.ย. 2544)
  14. รองศาสตราจารย์ ดร.วิสุทธิ์ ช่อวิเชียร (26 ต.ค. 2544 – 25 ต.ค. 2548)
  15. รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิต ธงทอง (28 ต.ค. 2548 -2552)
  16. รองศาสตราจารย์ ดร.พูลศักดิ์ เพียรสุสม (2552 – 2555)
  17. รองศาสตราจารย์ ดร.สรวิศ นฤปิติ (2555 – 2557)
  18. รองศาสตราจารย์ ดร. สุพจน์ เตชวรสินสกุล (2557 – 2559)
  19. ศาสตราจารย์ ดร. บุญไชย สถิตมั่นในธรรม (2563 – 2567)
  20. ศาสตราจารย์ ดร. เกษม ชูจารุกุล (1 ก.ค. 2567 – ปัจจุบัน)

วิสัยทัศน์

ภาควิชาวิศวกรรมโยธาเป็นภาควิชาที่เป็นแหล่งความรู้ทางด้านวิศวกรรมโยธาในระดับนานาชาติ ทั้งในด้านการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ โดยเป็นส่วนร่วมของการมุ่งสู่การเป็นหนึ่งในสิบของเอเชีย ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พันธกิจ

  • ผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมโยธาที่มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรม จริยธรรม พร้อมทั้งทำประโยชน์ให้กับสังคม มีความสามารถในการเพิ่มพูนความรู้ด้วยตนเอง และสามารถศึกษาต่อการศึกษาระดับสูงในระดับนานาชาติ
  • ผลิตผลงานวิจัย และการบริการวิชาการที่มีคุณภาพให้กับอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและสังคม